National Health Security Office (NHSO) District 5, Ratchaburi
  • แสดงผลพื้นหลังสีดำตัวหนังสือสีขาว 
  • แสดงผลสีแบบปกติ 
  • แสดงผลพื้นหลังสีดำตัวหนังสือสีเหลือง 
  • larger 
  • default 
  • smaller 
  • เปลี่ยนการแสดงผล

    เปลี่ยนภาษา

ประชาสัมพันธ์

สปสช.เขต 5 นำชมวัฒนธรรมงดงาม วิถีชีวิตพอเพียงตามรอยพ่อ ของคนท่าแร้งออก เพชรบุรี

 ...  วันที่ 4 กรกฎาคม 2560 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช)เขต 5 ราชบุรี นำทีมโดย นายแพทย์ชูชัย ศรชำนิ รองเลขาธิการสปสช. นายแพทย์แสวง หอมนาน ที่ปรึกษา สปสช.เขต 5 ราชบุรี พร้อมทีมสื่อมวลชนร่วมกิจกรรมรับฟังแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมตัวอย่างดีที่เป็นหนึ่งในต้นแบบที่ร่วมกันจัดกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพ ป้องกันโรค สร้างสุขภาพด้วยความร่วมมือที่ดีจากทุกภาคส่วนที่ร่วมเป็นกรรมการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นำทีมต้อนรับและเป็นตัวแทนในการนำเสนอผลงานเด่นของตำบล โดย นายบำเพ็ย ศิลปะระเสริฐ นายก อบต.ท่าแร้งออก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ที่ได้ร่วมกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานด้านสาธารณสุข รพ.สต.ท่าแร้งออก ผู้บริหาร นักเรียน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำทุกหมู่บ้านในชุมชน

          นายแพทย์ชูชัย ศรชำนิ รองเลขาธิการสปสช. กล่าวว่า “กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า กองทุนฯ ตำบล เป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นโดยสปสช. สบทบงบประมาณจำนวน 45 บาทต่อจำนวนประชากรในพื้นที่ และอบต.ได้สมทบเพิ่มเติมตามความพร้อม อย่างเช่น กองทุนฯ อบต.ท่าแร้งออก นี้ สปสช.สมทบ จำนวน 137,565 บาท และอบต.ท่าแร้งออกซึ่งเป็นอบต.ขนาดเล็ก สมทบจำนวน 70,000 บาท มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์จากเกณฑ์ที่ตกลงกันไว้ คือ อบต.ขนาดเล็กสมทบไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ จากที่ สปสช.สมทบในการร่วมกันดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่  และจากที่ได้ติดตามจากข้อมูลที่รายงานและลงเยี่ยมพื้นที่ครั้งนี้ จะเห็นว่าประชาชนทุกภาคส่วนได้ร่วมกันจัดกิจกรรมที่หลากหลาย สามารถนำเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่ตำบลอื่นได้ในการนำจุดเด่นเรื่องวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง มาร่วมกันสร้างสิ่งดีดีในงานสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคด้วยประชาชนในพื้นที่เอง

          นายศรีธรรม ราชแก้ว นายอำเภอบ้านแหลม กล่าวว่า “นโยบายของอำเภอบ้านแหลม ได้แปลงสู่การปฏิบัติทุกพื้นที่ คือ “บ้านแหลม เมืองสะอาด น่าอยู่ น่ากิน น่าเที่ยว” ด้วยการส่งเสริม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่นำวิถีชีวิตดั้งเดิม มาสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 แปรรูปอาหารด้วยเทคโนโลยีที่ปลอดภัย มีโรงสีข้าวชุมชน แหล่งตลาดรองรับเกษตรปลอดสาร ดังเช่น ที่ตำบลท่าแร้งออก ได้ส่งเสริมให้มีการผลิตแปรรูปสินค้าเกษตร เช่น กุนเชียงเนื้อ ขนมเค๊กปลา กุ้ง  น้ำข้าวไรท์เบอรรี่ แปรรูปรองรับตลาด จัดให้ทุกวันที่ 2 ต้นเดือนในการประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้แต่ละหมู่บ้านนำสินค้ามาสาธิตและจำหน่ายพร้อมรับซื้อ หรือจัดหาแหล่งตลาดพร้อมจัดกิจกรรมพาเที่ยว พากินส่งเสริมเศรษฐกิจวิถีชีวิตพอเพียง ให้ปลูกข้าวปลูกผักหลากชนิด หากเหลือให้นำไปแปรรูปในรูปวิสาหกิจชุมชนหรือในรูปเกษตรกร พ่อค้าแม่ค้าจากชุมชน

                   นายบำเพ็ญ ศิลประเสริฐ นายก อบต.ท่าแร้งออก กล่าวว่า “วันนี้ เป็นอีกวันที่ชาวบ้านจากทุกหมู่บ้าน ได้มาร่วมกันนำเสนอตัวอย่างกิจกรรมบางอย่าง ที่ได้นำวิถีชีวิตแบบชุมชนชาวมุสลิม คนไทยที่นับถืออิสลาม และพุทธบางส่วนที่ได้มีวิถีชีวิตที่งดงามในการร่วมกันขอรับการสนับสนุนงบประมาณ พร้อมร่วมลงขัน ลงแรงนำวิถีชีวิตดั้งเดิม มาผสมผสานจัดทำโครงการ หลายโครงการในชุมชน อาทิ การนำเสนอหัตกรรมพื้นบ้าน การสานตะกร้า ของใช้จากวัสดุเหลือใช้  การใช้ชีวิตแบบวิถีชีวิตพอเพียง เลี้ยงวัว เลี้ยงไก่ ใช้แก๊สจากขี้วัว เลี้ยงสัตว์  ปลูกผัก ปลูกพืชกินเอง  มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย การแต่งกายแบบดั้งเดิมตามศาสนา คลุมผ้าฮิยาฟ นุ่งโสร่ง  และมีการสอนการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ด้วยลิเกฮูลูนำมาปรับใช้เป็นท่าทางการออกกำลังกายของคนสองวัย วัยรุ่นตายายปู่ย่า กับวัยลูกหลาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนในตัวอย่างการสร้างเสริมสุขภาพปัองกันโรคของชุมชน