National Health Security Office (NHSO) District 5, Ratchaburi
  • แสดงผลพื้นหลังสีดำตัวหนังสือสีขาว 
  • แสดงผลสีแบบปกติ 
  • แสดงผลพื้นหลังสีดำตัวหนังสือสีเหลือง 
  • larger 
  • default 
  • smaller 
  • เปลี่ยนการแสดงผล

    เปลี่ยนภาษา

ประชาสัมพันธ์

อปท. 8 จังหวัดภาคตะวันตก ยุคท้องถิ่นเข้มแข็ง พร้อมคุ้มครองสิทธิประชาชน รับเรื่องร้องเรียนและร้องทุกข์

 ..สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เขต 5 ราชบุรี            ได้ลงนามความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาล จำนวน 18 แห่ง  จัดตั้ง  “ศูนย์คุ้มครองสิทธิ์และรับเรื่องร้องเรียน ( Customer Service และ Consumer Protection) ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการเป็นจุดบริการที่ให้บริการกับประชาขน ที่มุ่งเน้นในการคุ้มครองสิทธิของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ เพิ่มเติมในภารกิจงานหลักประกันสุขภาพ โดยในวันที่ 22 กันยายน 2560 ณ บ้านสวนส้มทิพย์ อ.วัดเพลง จ.ราชบุรี ได้จัดอบรม “ศูนย์คุ้มครองสิทธิ์ รับเรื่องร้องเรียนและร้องทุกข์ในอปท.นำร่อง” ผู้เข้าร่วมประมาณ 50 คน เป็นเจ้าหน้าที่ ผู้บริหารจาก อบต./เทศบาล ที่จะทำหน้าที่ปฏิบัติการศูนย์คุ้มครองสิทธิ์และรับเรื่องร้องเรียน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ เทคนิคในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ และมาร่วมวางแผน ตกลงกันในแนวทางการทำงานคุ้มครองสิทธิในการทำงานระดับพื้นที่ของแต่ละตำบล   กล่าวเปิดการประชุมและจัดพิธีมอบป้าย “ศูนย์คุ้มครองสิทธิ์และรับเรื่องร้องเรียนฯในอปท.นำร่อง” โดย นายแพทย์แสวง หอมนาน ที่ปรึกษา สปสช. เขต ราชบุรี และบรรยายพิเศษ เรื่อง การมีส่วนร่วมของ อปท.ในบทบาทของศูนย์คุ้มครองสิทธิ์และรับเรื่องร้องเรียนกับระบบหลักประกันสุขภาพและทิศทางในระยะถัดไป  และทีมวิทยากรมาอบรม จัดฐานเรียนรู้ เรื่อง สิทธิประโยชน์ องค์ความรู้ในการคุ้มครองสิทธิ รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ จาก ทีมสปสช.

นพ. แสวง หอมนาน ที่ปรึกษา สปสช. เขต 5 ราชบุรี เปิดการประชุมและกล่าวว่า “ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ตามมาตรา 41 มาตรา 57 มาตรา 59  ที่มุ่งเน้นในการคุ้มครองสิทธิ มุ่งหวังให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างมั่นใจ การจัดอบรมในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้าอบรม หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ทำในหน้าที่โดยตรงในการรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ผู้รับบริการ ผู้ให้บริการหากได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข หรือไม่ได้รับความสะดวกในการรับบริการ ได้รับการคุ้มครองสิทธิ ซึ่งผู้รับผิดชอบรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อปัญหา แก้ไขปัญหาความขัดแย้งเบื้องต้น จำเป็นต้องมีความรู้ ลดความไม่เข้าใจ ลดความรุนแรงแก้ไขปัญหาเบื้องต้น และส่งต่อเรื่องสู่กระบวนการเยียวยา ช่วยเหลือเบื้องต้น จัดการตามแนวทางที่ควรเป็นไปตามความเหมาะสมของกรณีที่เกิดปัญหาความขัดแย้ง อันจะส่งผลให้เรื่องร้องเรียนไม่ลุกลาม และยุติได้โดยไม่ไปฟ้องร้องในชั้นศาล

ในปี 2560 นี้ มี อปท.ร่วมลงนามข้อตกลง จำนวน 18 แห่ง ได้แก่  1.อบต.หนองปรือ อ.หนองปรือ  จ.กาญจนบุรี เทศบาลตำบลท่าไม้ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี อบต.แสนตอ อ.ท่ามะกา  จ.กาญจนบุรี ทต.ลูกแก อ.ท่ามะกา  จ.กาญจนบุรี 5 เทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี อบตปรังเผล อ.สังขละ จ.กาญจนบุรี 7.เทศบาลตำบลปากแพรก อ.เมือง จ.กาญจนบุรี 8. อบต.โพรงมะเดื่อ อ.เมือง จ.นครปฐม 9.เทศบาลตำบลดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม 10. อบต.นราภิรมย์ อ.บางเลน จ.นครปฐม 11. อบต.นาหูกวาง อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์              12.อบต.อ่าวน้อย อ.เมือง  จ.ประจวบคีรีขันธ์  13. อบต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี 14. อบต.ดอนมะโนรา อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม 15. อบต.ดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี              16. อบต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี  17. เทศบาลเมืองสองพี่น้อง  อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี 18.  อบต.บางตะเคียน อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี

 นายแพทย์รัฐพล  เตรียมวิชานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าวเพิ่มเติมว่า  การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอีกหนึ่งบทบาท ที่ได้ตกลงความร่วมมือร่วมกัน นอกเหนือจากที่แต่ละกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต./เทศบาล ได้ร่วมกันจัดกองทุนสุขภาพฯ ในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคร่วมกันมาแล้ว ในการดูแลสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่น  ในวันนี้และปีงบประมาณ 2561 จะจับมือร่วมกันทำงานในเชิงรูปธรรมเพิ่มขึ้นในการคุ้มครองสิทธิ  หากได้รับผลกระทบ ความเสียหาย หรือมีความไม่เข้าใจ ไม่ได้รับความสะดวกในการรับบริการด้านสุขภาพในระดับพื้นที่ จะสามารถเป็นหน่วยรับเรื่องร้องเรียน ให้คำปรึกษา ไกล่เกลี่ยปัญหาต่างๆ เบื้องต้น และประสานการทำงาร่วมกัน  ทั้งนี้  สปสช. เอง เป็นองค์กรอิสระ ในการเป็นตัวแทนประชาชน จัดระบบสิทธิสวัสดิการในการรักษาพยาบาล หรือ การให้บริการต่างๆ ที่ได้ผล ต้องอาศัยเครือข่าย  ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เป็นไปตามเจตนารมณ์ ของกฎหมาย พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ทุกฝ่ายต้องเข้ามาร่วมมือกันทั้งผู้ใช้บริการ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ช่วยกันพัฒนาระบบให้ได้คุณภาพมาตรฐาน จัดบริการไม่ว่าจะเป็น ระบบการใช้ยา การรักษา รวมถึงประชาชนเอง ต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของโรงพยาบาล  จึงมีความจำเป็นต้องจัดพัฒนาศักยภาพ การรับเรื่องรัองเรียน การจัดกิจกรรมหลักประกันสุขภาพ สร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกันของศูนย์คุ้มครองสิทธิและรับเรื่องร้องเรียนที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนในแต่ละตำบล จาก  จังหวัด   ให้เกิดการสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมาย ดำเนินกิจกรรม Empowerment ประชาชน ให้รับรู้สิทธิ ทุกชุมชนใกล้ไกล สามารถใช้บริการตามจำเป็นอย่างเหมาะสม  ได้ร่วมกันนำองค์ความรู้ต่างๆ ไปร่วมสื่อสารเชิงรุกกับประชาชน เพื่อให้รับรู้สิทธิ เพื่อความมั่นใจในการเข้าไปใช้บริการมากยิ่งขึ้น ตามเป้าหมายในเวทีครั้งนี้ จัดร่วมกันในการผลักดันการดำเนินงานของท้องถิ่นที่เข้าใจพื้นที่ของตน  นำมาพัฒนาและส่งเสริมโดยหน่วยงานของรัฐเป็นที่ปรึกษา เป็นหน่วยงานที่เป็นที่พึ่งพิงของประขาชน มีบุคลากรที่รับผิดชอบ มีกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพที่บรรลุตามข้อตกลงที่วางไว้  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติงานและถึงเป้าหมายด้วยการมีส่วนร่วมของภาคีสุขภาพในพื้นที่ ร่วมกันดูแลสุขภาพประชาชนในท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพต่อไป